วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 7

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Database Component for Borland Delphi 6.0
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::>>

ในการพัฒนา Application ด้วย Delphi นั้น Component ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเราสามารถใช้ Component ในการติดต่อและตอบโต้กับผู้ใช้ และเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้ควบคุมการทำงานภายใน Applicationได้อย่างง่ายดายและสะดวก
ความหมายและประเภทของ Component

คอมโพเนนต์ คือ object ต่างๆที่นำมาใช้ประกอบในการสร้างแอพลิเคชัน ซึ่ง คอมโพเนนต์ ส่วนใหญ่จะถูกจัดเก็บไว้ใน Compinent Palette โดยแยกเก็บเป็นหมวดหมู่เอาไว้พร้อมนำไปประกอบแอพพลิเคชันที่เราสร้างขึ้น คอมโพเนนต์จะถูกแยกออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
Visual Component เป็นคอมโพเนนต์ที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้โดยจะแสดงให้เห็นในขณะที่รันแอพพลิเคชัน เช่นข้อความหรือปุ่มต่างๆ
Non-Visual Component เป็นคอมโพเนนต์ที่ไม่แสดงให้เห็นในขณะที่รันแอพพลิเคชัน โดยจะเป็นไอคอนขนาดเล็กอยู่บนฟอร์มขณะออกแบบ เช่น MainMenu , PopupMenu

DBText การทำงานจะคล้ายๆกับคอมโพเนนต์ Label ในเพจมาตรฐาน แต่ DBTextจะไม่มีproperty ที่ใช้กำหนดข้อความให้กับคอมโพเนนต์ โดยข้อความนั้นจะเป็นข้อมูลที่ดึงมาจากฐานข้อมูล

DBEdit การทำงานคล้ายกับคอมโพเนนต์ Edit แต่เป็นการแสดงข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลรวมทั้งยังมีความสามารถในการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลได้ด้วย

DBMemo ใช้แสดงข้อมูล และแก้ไขข้อมูลจำนวนหลายๆบรรทัด จากฐานข้อมูล

DBImage ใช้ใชการแสดงหรือเปลี่ยนแปลงฟิลด์ข้อมูลที่มีชนิดเป็นรูปภาพจากฐานข้อมูล คอมโพเนนต์นี้มีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลชนิดรูปภาพได้เป็นอย่างมาก

DBListbox มีลักษณะคล้ายกับคอมโพเนนต์ ListBox ในแท็บ Standard ซึ่งใช้สำหรับกำหนดลิสต์รายการเพื่อให้ผู้ใช้เลือก แต่รายการที่ถูกเลือกจะถูกเก็บเข้าไปในฟิลด์ที่เรากำหนดให้กับ DBListBox

DBComboBox เป็นคอมโพเนนต์ที่ประกอบด้วยส่วนของ Edit และ ListBox โดยมีลักษณะคล้ายกับคอมโพเนนต์ ComboBox ในแท็บ Standard

DBCheckBox ใช้สำหรับกำหนดฟิลด์ประเภทบูลีน ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายกับคอมโพเนนต์ CheckBox ในแท็บ Standard ในการใช้งานจะต้องกำหนด property DataSource สำหรับเชื่อมต่อไปยัง Dataset และพร็อพเพอร์ตี้ DataField สำหรับกำหนดฟิลด์ที่ต้องการทำงานด้วย



:: การสร้างแอพพลิเคชันฐานข้อมูลโดยใช้ ADO
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::>> Top

ทำความรู้จักกับ ADO การพัฒนาแอพพลิเคชันฐานข้อมูลทั่วๆไปใน Delphi นั้นแต่เดิมจะต้องอาศัย BDE ดังที่ได้อธิบายไปแล้วแต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่มคุณสมบัติของการติดต่อกับฐานข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้โมเดลของ Active Data Object หรือ ADO ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาโดยไมโครซอฟต์เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลายประเภทและใช้งานได้ง่าย
ADO หรือ Active Data Object เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อกับฐานข้อมูลรูปแบบใหม่ เป็น Data Object ที่ช่วยให้แอพพลิเคชันสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่าน OLE DB (เป็นรูปแบบ และวิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของเทคโนโลยี ADO) ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสระดับล่างที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล ได้หลายประเภท โดยจะรวมความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลในลักษณะที่เรียกว่า Universal Data Access นั่นคือสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้ หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลแบบ relational หรือ non-relational , e-mail และ ระบบ ไฟล์ , เท็กซ์และกราฟฟิก และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นตารางแต่เพียงอย่างเดียว คุณสมบัติของADO คือใช้งานง่าย มีขั้นตอนในการติดต่อระหว่างแอพพลิเคชันน้อย ใช้ทรัพยากรเครือข่ายไม่มาก อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพต่อการเข้าถึงข้อมูลสูงสุดด้วย
การทำงานของ ADO นั้นสามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลได้ทั้งแบบ 1-tier คือลักษณะที่ฐานข้อมูลอยู่ภายในเครื่องเดียวกับแอพพลิเคชัน และการใช้งานแบบ multi-tier คือลักษณะที่ฐานข้อมูลอยู่คนละเครื่องกับแอพพลิเคชัน
แนวโน้มการใช้งาน ADO จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าถึงข้อมูลของไมโครซอฟต์เช่น MS Access และ My SQL Server ซึ่งนอกจากจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์กว่าการใช้ BDE แล้วการแจกจ่ายโปรแกรมที่ใช้ ADO ในอนาคตไม่จำเป็นต้องมีการแจกจ่าย Database Engine ไปด้วยเลย เนื่องจาก Database Engine ที่ใช้คือ OLE DB ซึ่งจะมีอยู่ใน MS Windows รุ่นใหม่ๆ (98 SE , 2000)และใน MS Office 2000 ด้วย
ขั้นตอนการติดต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้ ADO อธิบายได้ดังรูป



ในทำนองเดียวกับ BDE คอมโพเนนต์ที่ใช้ติดต่อกับฐานข้อมูลโดยผ่าน ADO นั้น ก็แบ่งเป็น 3 ประเภทเช่นกัน คือ Dataset , Datasource และ Data Control ซึ่งรายละเอียดในการใช้งานของ Datasource และ Data Control นั้นจะเหมือนกันกับการใช้งานใน BDE จะต่างกันแต่เพียงส่วนของ Dataset ซึ่งรายละเอียดของ Dataset ที่ใช้กับ ADO มีดังนี้ ADOConnection ใช้ติดต่อกับแหล่งข้อมูลของ ADO โดยเราสามารถใช้ ADOConnaection ร่วมกับADODataset ต่างๆและคอมโพเนนต์ ADOCommand เพื่อเอ็กซีคิวคำสั่งและเข้าถึงข้อมูล
ADODataset เป็นคอมโพเนนต์หลักที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล สามารถดึงข้อมูลจากเทเบิลเดี่ยวๆหรือหลายๆเทเบิลโดยใช้คำสั่ง SQL ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรงหรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
ADOTable ใช้สำหรับทำงานกับเทเบิลเดี่ยวๆสามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรงหรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
ADOQuery ใช้สำหรับทำงานกับคำสั่ง SQL สามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรง หรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
ADOStoredProc ใช้สำหรับเอ็กซีคิวต์ stored procedure สามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรง หรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
ADOCommand ใช้ในการเอ็กซีคิวต์คำสั่งต่างๆเช่นคำสั่ง SQL สามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรง หรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
RDSConnection เป็นคอมโพเนนต์ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ ADOConnectionใช้ในการสร้างแอพพลิเคชันแบบ multi-tier

ออบเจ็คหลักๆของ ADO คือ Connection, Command และ Recordset โดยออบเจ็คเหล่านี้แทนด้วย คอมโพเนนต์ใน Delphi คือ ADOConnection, ADOCommand และ ADO dataset ทั้งหลาย (คือ ADODatasset, ADOTable และ ADOQuery) นอกจากนี้ยังมีออบเจ็คอื่นที่ช่วยในการทำงานของ ADO เพียงแต่จะไม่ถูกเรียกใช้โดยตรงและไม่มีคอมโพเนนต์ที่ใช้แทนออบเจ็คเหล่านี้
การใช้ ADO ทำให้เราสร้างแอพพลิเคชันฐานข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับ Boland Database Engine (BDE) คือ ได้โดยไม่ต้องมี BDE แต่ลักษณะโครงสร้างของแอพพลิเคชันก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพียงแต่จะใช้คอมโพเนนต์ ADO แทน Data Access เท่านั้นและยังคงใช้ DataSource กับ Data Control ชุดเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนค่าพร็อพเพอร์ตี Dataset ของ DataSource ให้เป็นคอมโพเนนต์ ADO
การติดต่อกับแหล่งข้อมูล
การติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลต่างๆมาใช้งานนั้นสามารถเชื่อมโยงแอพพลิเคชันเข้ากับฐานข้อมูลได้ 2 วิธี วิธีที่ 1 ใช้คอมโพเนนต์ ADOConnection ในการติดต่อกับฐานข้อมูล ซึ่งจะเป็นตัวกลางระหว่างฐานข้อมูลและ Dataset
วิธีที่ 2 ใช้คอมโพเนนต์ Dataset เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลโดยตรง
ในการติดต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้ ADOConnection จะมีข้อดีกว่าการใช้ Dataset ติดต่อโดยตรงดังนี้
-- สามารถใช้ ADOConnection ร่วมกับคอมโพเนต์ ADO ตัวอื่นๆได้ ช่วยให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้ง่าย เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชื่อฐานข้อมูลโดยโครงสร้างภายในเหมือนเดิม เราก็แก้ไขเฉพาะที่ ADOConnection ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อคอมโพเนนต์ ADO ตัวอื่นๆ
-- สามารถดูได้ว่า มีคอมโพเนนต์ ADO อะไรบ้างที่เชื่อมต่ออยู่กับ ADOConnection
-- สามารถควบคุม Transaction ที่เกิดขึ้นได้
คลิกเลยคาฟ

Privacy Policy About Us
Copyright © 2000-2008 - Job Online Co.,Ltd. All rights reserved.
Conta888ct Webmas
t

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

ฐานข้อมูล
รบกวนแนะนำมือใหม่่หัดศึกษาหน่อยครับ
1. Key มีกี่แบบอะไรบ้าง
2. แต่ละแบบ
3. มีคุณสมบัติ และ ใช้ยังไง
ขอเพิ่มเติมนิดนึงครับ
ระบบสารสนเทศพื้นฐาน มีอะไรบ้างครับ (ที่ผมศึกษามามันมี)
1. ข้อมูล (Data) คือ ข้อมูลที่ยังไม่ได้ประมวลผล
2. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว
3. การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กร
แนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศพื้นฐาน (Fundamental Information System Concept)
จากแนวคิดเรื่องระบบ (System Concept) มาเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำระบบไปใช้ในองค์กรธุรกิจ รวมทั้งส่วนประกอบและกิจกรรมของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดอื่นๆ ของเทคโนโลยี โปรแกรมประยุกต์ การพัฒนา และการจัดการระบบสารสนเทศ
การวิเคราะห์ American Management System
กรณีศึกษาของ American Management System จะช่วยให้ในการเรียนรู้เรื่องประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ
ศูนย์ความรู้ของ AMS (The AMS knowledge Center) เป็นตัวอย่างของระบบสารสนเทศแบบใหม่ เป็นระบบการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management System : KMS) ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลากหลาย เพื่อช่วยให้พนักงานขององค์กรที่มีความรู้ช่วยกันจัดโครงสร้างและแบ่งปันความรู้ทางธุรกิจในรูปของอินทราเน็ตเว็บไซท์ ในหัวข้อ ‘ การปฏิบัติงานที่ดี (Best Practices)’ ได้รับการพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ทางธุรกิจของพนักงานและเก็บบันทึกไว้ในรูปแบบสื่อประสมเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink Multimedia) บนเว็บไซท์ โดยพนักงานอื่นสามารถเรียกใช้งานได้จากเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
ศูนย์ความรู้ของ AMS เป็นหนึ่งในหลายๆรูปแบบของระบบสารสนเทศ ซึ่งมีส่วนประกอบพื้นฐานดังนี้
ทรัพยากรบุคคล ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และเครือข่าย
สิ่งที่สนับสนุน ข้อมูลเข้า การประมวลผล ข้อมูลออก จัดเก็บและกิจกรรมควบคุม (Control Activities)
ผลิตภัณฑ์สารสนเทศ (Information Products) ที่หลากหลายสำหรับผู้ใช้ (End User)

ไทใต้ - การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ - KAZ-NET MODEL นวัตกรรม


คลิกเลยคาฟhttp:///www.no-poor.com/RationalRose/M-IS_files/image007.jpขอบคุณ

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่5

ฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล คือ ชุดของสารสนเทศที่มีโครงสร้างสม่ำเสมอ

ชุดของสารสนเทศใด ๆ ก็อาจเรียกว่าเป็นฐานข้อมูลได้ ถึงกระนั้น คำว่าฐานข้อมูลนี้มักใช้อ้างถึงข้อมูลที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ และถูกใช้ส่วนใหญ่เฉพาะในวิชาการคอมพิวเตอร์ บางครั้งคำนี้ก็ถูกใช้เพื่ออ้างถึงข้อมูลที่ยังมิได้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เช่นกัน ในแง่ของการวางแผนให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้

ประวัติ

ฐานข้อมูลในลักษณะที่คล้ายกับฐานข้อมูลสมัยใหม่ ถูกพัฒนาเป็นครั้งแรกในทศวรรษ 1960 ซึ่งผู้บุกเบิกในสาขานี้คือ ชาลส์ บากแมน แบบจำลองข้อมูลสำคัญสองแบบเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ซึ่งเริ่มต้นด้วย แบบจำลองข่ายงาน (พัฒนาโดย CODASYL) และตามด้วยแบบจำลองเชิงลำดับชั้น (นำไปปฏิบัติใน IMS) แบบจำลองทั้งสองแบบนี้ ในภายหลังถูกแทนที่ด้วย แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับแบบจำลองอีกสองแบบ แบบจำลองแบบแรกเรียกกันว่า แบบจำลองแบนราบ ซึ่งออกแบบสำหรับงานที่มีขนาดเล็กมาก ๆ แบบจำลองร่วมสมัยกับแบบจำลองเชิงสัมพันธ์อีกแบบ คือ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ หรือ โอโอดีบี3 (OODB)

ในขณะที่แบบจำลองเชิงสัมพันธ์ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีเซต ได้มีการเสนอแบบจำลองดัดแปลงซึ่งใช้ทฤษฎีเซตคลุมเครือ (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากตรรกะคลุมเครือ) ขึ้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ปัจจุบันมีการกล่าวถึงมาตรฐานโครงสร้างฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างระบบ ให้สืบค้นรวมกันเสมือนเป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และการสืบค้นต้องแสดงผลตรงตามคำถาม มาตรฐานดังกล่าวได้แก่ XML RDF Dublin Core Metadata เป็นต้น และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลรหว่างต่างหน่วยงานได้ดี คือการใช้ Taxonomy และ อรรถาภิธาน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับจัดการความรู้ในลักษณะศัพท์ควบคุม เพื่อจำกัดความหมายของคำที่ใช้ได้หลายคำในความหมายเดียวกัน จากโรงเรียนสสสสทท

ระบบจัดการฐานข้อมูล

ซอฟต์แวร์สำหรับจัดการฐานข้อมูลนั้น โดยทั่วไปเรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ ดีบีเอ็มเอส (DBMS - Database Management System) สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ของดีบีเอ็มเอสอาจมีได้หลายแบบ เช่น สำหรับฐานข้อมูลขนาดเล็กที่มีผู้ใช้คนเดียว บ่อยครั้งที่หน้าที่ทั้งหมดจะจัดการด้วยโปรแกรมเพียงโปรแกรมเดียว ส่วนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้จำนวนมากนั้น ปกติจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรมด้วยกัน และโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะใช้สถาปัตยกรรมแบบรับ-ให้บริการ (client-server)

โปรแกรมส่วนหน้า (front-end) ของดีบีเอ็มเอส (ได้แก่ โปรแกรมรับบริการ) จะเกี่ยวข้องเฉพาะการนำเข้าข้อมูล, การตรวจสอบ, และการรายงานผลเป็นสำคัญ ในขณะที่โปรแกรมส่วนหลัง (back-end) ซึ่งได้แก่ โปรแกรมให้บริการ จะเป็นชุดของโปรแกรมที่ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม, การเก็บข้อมูล, และการตอบสนองการร้องขอจากโปรแกรมส่วนหน้า โดยปกติแล้วการค้นหา และการเรียงลำดับ จะดำเนินการโดยโปรแกรมให้บริการ รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน นับตั้งแต่การใช้ตารางอย่างง่าย ที่เก็บในแฟ้มข้อมูลแฟ้มเดียว ไปจนกระทั่งฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาก ที่มีระเบียนหลายล้านระเบียน ซึ่งเก็บในห้องที่เต็มไปด้วยดิสก์ไดรฟ์ หรืออุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รอบข้าง (peripheral) อื่น ๆ

การออกแบบฐานข้อมูล

การออกแบบฐานข้อมูล (Designing Databases) มีความสำคัญต่อการจัดการระบบฐานข้อมูล (DBMS) ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ภายในฐานข้อมูลจะต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์ของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการที่โปรแกรมประยุกต์จะเรียกใช้ฐานข้อมูล ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งวิธีการสร้างฐานข้อมูลได้ 3 ประเภท

1. รูปแบบข้อมูลแบบลำดับขั้น หรือโครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical data model) วิธีการสร้างฐาน ข้อมูลแบบลำดับขั้นถูกพัฒนาโดยบริษัท ไอบีเอ็ม จำกัด ในปี 1980 ได้รับความนิยมมาก ในการพัฒนาฐานข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยที่โครงสร้างข้อมูลจะสร้างรูปแบบเหมือนต้นไม้ โดยความสัมพันธ์เป็นแบบหนึ่งต่อหลาย (One- to -Many)

2. รูปแบบข้อมูลแบบเครือข่าย (Network data Model) ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกับฐาน ข้อมูลแบบลำดับชั้น ต่างกันที่โครงสร้างแบบเครือข่าย อาจจะมีการติดต่อหลายต่อหนึ่ง (Many-to-one) หรือ หลายต่อหลาย (Many-to-many) กล่าวคือลูก (Child) อาจมีพ่อแม่ (Parent) มากกว่าหนึ่ง สำหรับตัวอย่างฐานข้อมูลแบบเครือข่ายให้ลองพิจารณาการจัดการข้อมูลของห้องสมุด ซึ่งรายการจะประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง สำนักพิมพ์ ที่อยู่ ประเภท

3. รูปแบบความสัมพันธ์ข้อมูล (Relation data model) เป็นลักษณะการออกแบบฐานข้อมูลโดยจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปของตารางที่มีระบบคล้ายแฟ้ม โดยที่ข้อมูลแต่ละแถว (Row) ของตารางจะแทนเรคอร์ด (Record) ส่วน ข้อมูลนแนวดิ่งจะแทนคอลัมน์ (Column) ซึ่งเป็นขอบเขตของข้อมูล (Field) โดยที่ตารางแต่ละตารางที่สร้างขึ้นจะเป็นอิสระ ดังนั้นผู้ออกแบบฐานข้อมูลจะต้องมีการวางแผนถึงตารางข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เช่นระบบฐานข้อมูลบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วย ตารางประวัติพนักงาน ตารางแผนกและตารางข้อมูลโครงการ แสดงประวัติพนักงาน ตารางแผนก และตารางข้อมูลโครงการ

การออกแบบฐานข้อมูลในองค์กรขนาดเล็กเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอาจเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากนัก เนื่องจากระบบและขั้นตอนการทำงานภายในองค์กรไม่ซับซ้อน ปริมาณข้อมูลที่มีก็ไม่มาก และจำนวนผู้ใช้งานฐานข้อมูลก็มีเพียงไม่กี่คน หากทว่าในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งมีระบบและขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน รวมทั้งมีปริมาณข้อมูลและผู้ใช้งานจำนวนมาก การออกแบบฐานข้อมูลจะเป็นเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการดำเนินการนานพอควรทีเดียว ทั้งนี้ ฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรได้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลภายในองค์กรทั้งนี้ การออกแบบฐานข้อมูลที่นำซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลมาช่วยในการดำเนินการ สามารถจำแนกหลักในการดำเนินการได้ 6 ขั้นตอน คือ

1.การรวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ข้อมูล

2.การเลือกระบบจัดการฐานข้อมูล

3.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับแนวคิด

4.การนำฐานข้อมูลที่ออกแบบในระดับแนวคิดเข้าสู่ระบบจัดการฐานข้อมูล

5.การออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ

6.การนำฐานข้อมูลไปใช้และการประเมินผล


การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ

การออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ หรือในระดับแนวความคิด เป็นขั้นตอนการออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในระบบโดยใช้แบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งอธิบายโดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (E-R Diagram) จากแผนภาพ E-R Diagram นำมาสร้างเป็นตารางข้อมูล (Mapping E-R Diagram to Relation) และใช้ทฤษฏีการ Normalization เพื่อเป็นการรับประกันว่าข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด

ช่วยคลิกหน่อยครับhttp://th.wikipedia.org/wikiขอบคุณครับ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่4

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

สาระสำคัญ

ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น

นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมู

ระบบฐานข้อมูล (Database System)

หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน

ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล

นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

บิท (Bit)

หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด

ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)

เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น

ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย

รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล

ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล

ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล

แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้

เอนทิตี้ (Entity)

หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล

ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน

- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล

แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น

เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย - แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา

- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา

- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา

ความสัมพันธ์ (Relationships)
หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง

ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เราจะใช้หัวลูกศรเพื่อแสดงความสัมพันธ์ ดังตัวอย่างในรูปต่อไปนี้

รูปที่ 1.1 คณะวิชา ß ----------à à นักศึกษา (คณะวิชามีความสัมพันธ์กับนักศึกษา)

ในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จะกำหนดโดยใช้หัวลูกศร และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้นักศึกษาไปยังเอนทิตี้คณะวิชา อาจจะกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้

รูปที่ 1.2 คณะวิชา ----------------à นักศึกษา (นักศึกษาสังกัดอยู่คณะวิชา)

และหากพิจารณาความสัมพันธ์จากเอนทิตี้คณะวิชาไปยังเอนทิตี้นักศึกษา อาจกำหนดความสัมพันธ์ได้ดังนี้

รูปที่ 1.3 คณะวิชา --------------à à นักศึกษา (คณะวิชาประกอบด้วยนักศึกษา)

จากรูปที่ 1.2 จะเห็นได้ว่า นักศึกษา 1 คนจะสามารถสังกัดอยู่ได้เพียง 1 คณะวิชา แต่จากรูปที่ 1.3 จะเห็นได้ว่า 1 คณะวิชาสามารถประกอบด้วยนักศึกษาหลาย ๆ คน

ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships)

เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง (1 : 1)

2

. ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะ (1:m) ตัวอย่างเช่น

3. ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships)
เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)

เอนทิตี้ใบสั่งซื้อแต่ละใบจะสามารถสั่งสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิด ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้ใบสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้า จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:m) ในขณะที่สินค้าแต่ละชนิด จะถูกสั่งอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากเอนทิตี้สินค้าไปยังอินทิตี้ใบสั่งซื้อ จึงเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (1:n) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ทั้งสอง จึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (m:n)

จากคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจให้นิยามของฐานข้อมูลในอีกลักษณะได้ว่า

ฐานข้อมูล”
อาจหมายถึง โครงสร้างสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยหลาย ๆ เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน

ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล

จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้

การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะชาวยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) จะช่วยควบคุมความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง

2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้

หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลาย ๆ ที่และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)

3. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้

ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย

4. สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล

บางครั้งพบว่าการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้ป้อนข้อมูลป้อนข้อมูลผิดพลาดคือป้อนจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น

5. สามารถกำหนดความป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้

การเก็บข้อมูลร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกำหนดรูปแบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน/เดือน/ปี หรือ ปี/เดือน/วัน ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ

6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้

ระบบความปลอดภัยในที่นี้ เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม

7. เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล

ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง

รูปแบบของระบบฐานข้อมูล

รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)

เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง

พนักงาน

รหัสพนักงาน

ชื่อพนักงาน

ที่อยู่

เงินเดือน

รหัสแผนก

12501535

12534568

12503452

12356892

15689730

นายสมพงศ์

นายมนตรี

นายเอก

นายบรรทัด

นายราชัน

กรุงเทพ

นครปฐม

กรุงเทพ

นนทบุรี

สมุทรปราการ

12000

12500

13500

11500

12000

VO

VN

VO

VD

VA

รูปแสดงตารางพนักงาน

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)

ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น

3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)

ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ

ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร


โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้

โปรแกรมฐานข้อมูล

เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล

โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า

โปรแกรม Access

นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access

ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย

โปรแกรม FoxPro

เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน

โปรแกรม dBase

เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย

โปรแกรม SQL

เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป

คลิกเลยครับhttp://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it04/page01.html